จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เครื่องตนตรีไทยพื้นบ้าน 4 ภาค














เครื่องตนตรีไทยภาคใต้

เครื่องดนตรีภาคใต้
มีอยู่เพียง ๒ ตระกูล คือตระกูลเครื่องตีและตระกูล เครื่องเป่า ตระกูลเครื่องตีได้แก่ ทับ โหม่ง กรับคู่ กรับพวง ฆ้อง กลองทน กลองปืด กลองโพน กลองโนราหรือกลองหนัง ตระกูลเครื่องเป่าได้แก่ ปี่กาหลอ ปี่ไหน (ชื่อ เครื่องดนตรีเหล่านี้เรียกตามภาษาพื้นบ้าน)
ในการนําเครื่องดนตรีไปใช้นั้นชาวใต้ถือเคร่งครัด จะไม่นําเครื่องดนตรีไปใช้บรรเลงเดี่ยวเป็นอันขาด ไม่ว่ากรณีใดๆ แต่จะใช้เป็นคณะเพื่อประกอบการละเล่น หรือ ประกอบพิธีการเท่านั้น เช่น ประกอบการเล่นหนัง (หนังตะลุง ชาวใต้เรียกว่า “หนัง” ไม่มีคําว่า “ตะลุง”) โนรา มะโย่ง ฯลฯ หรือประกอบพิธีการ เช่น กาหลอ ใช้ในพิธีศพ หรือพิธีบวชนาคที่ผู้บวชจะบวชไม่สึก ปืด ใช้ในพิธีแห่พระตอนออกพรรษาหรือใช้ “คุม” (ประโคม) ในงานวัดเท่านั้น อายุของเครื่องดนตรีเหล่านี้สืบทราบจากผู้ใช้ว่า ใช้มาหลายสิบชั่วอายุคนแล้ว คือประมาณ ๖๐๐ ปีขึ้นไป การแสดงและการดนตรีของ ภาคใต้นับว่ามีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ลักษณะสังคมภาคใต้เป็นอันมาก โดยเฉพาะ หนัง โนรา และพิธีการทางศาสนา จัดเป็นเครื่องชี้นําแนวทางของสังคมที่มีอิทธิพลอย่างยิ่ง ต่อจากนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องดนตรีเป็นอย่างๆ ไป
๑. กลองหนัง หรือ กลองโนรา
กลองชนิดนี้ ถ้าใช้อยู่ในวงดนตรีไทยเรียกว่า “กลองตุ๊ก” หรือ “กลองชาตรี” ใช้ในการบรรเลง หรือประกอบการแสดงที่ดัดแปลงมาจากภาคใต้ เช่น รําซัดชาตรี เพลงตะลุง เป็นต้น ทางภาคใต้เรียกกลองชนิดนี้ว่า “กลองหนัง” หรือ “กลองโนรา” เพราะใช้เฉพาะกับการแสดงหนังหรือโนรา
เครื่องดนตรีภาคใต้มีอยู่เพียง ๒ ตระกูล คือตระกูลเครื่องตีและตระกูล เครื่องเป่า ตระกูลเครื่องตีได้แก่ ทับ โหม่ง กรับคู่ กรับพวง ฆ้อง กลองทน กลองปืด กลองโพน กลองโนราหรือกลองหนัง ตระกูลเครื่องเป่าได้แก่ ปี่กาหลอ ปี่ไหน (ชื่อ เครื่องดนตรีเหล่านี้เรียกตามภาษาพื้นบ้าน)
ในการนําเครื่องดนตรีไปใช้นั้นชาวใต้ถือเคร่งครัด จะไม่นําเครื่องดนตรีไปใช้บรรเลงเดี่ยวเป็นอันขาด ไม่ว่ากรณีใดๆ แต่จะใช้เป็นคณะเพื่อประกอบการละเล่น หรือ ประกอบพิธีการเท่านั้น เช่น ประกอบการเล่นหนัง (หนังตะลุง ชาวใต้เรียกว่า “หนัง” ไม่มีคําว่า “ตะลุง”) โนรา มะโย่ง ฯลฯ หรือประกอบพิธีการ เช่น กาหลอ ใช้ในพิธีศพ หรือพิธีบวชนาคที่ผู้บวชจะบวชไม่สึก ปืด ใช้ในพิธีแห่พระตอนออกพรรษาหรือใช้ “คุม” (ประโคม) ในงานวัดเท่านั้น อายุของเครื่องดนตรีเหล่านี้สืบทราบจากผู้ใช้ว่า ใช้มาหลายสิบชั่วอายุคนแล้ว คือประมาณ ๖๐๐ ปีขึ้นไป การแสดงและการดนตรีของ ภาคใต้นับว่ามีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ลักษณะสังคมภาคใต้เป็นอันมาก โดยเฉพาะ หนัง โนรา และพิธีการทางศาสนา จัดเป็นเครื่องชี้นําแนวทางของสังคมที่มีอิทธิพลอย่างยิ่ง ต่อจากนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องดนตรีเป็นอย่างๆ ไป
๑. กลองหนัง หรือ กลองโนรา
กลองชนิดนี้ ถ้าใช้อยู่ในวงดนตรีไทยเรียกว่า “กลองตุ๊ก” หรือ “กลองชาตรี” ใช้ในการบรรเลง หรือประกอบการแสดงที่ดัดแปลงมาจากภาคใต้ เช่น รําซัดชาตรี เพลงตะลุง เป็นต้น ทางภาคใต้เรียกกลองชนิดนี้ว่า “กลองหนัง” หรือ “กลองโนรา” เพราะใช้เฉพาะกับการแสดงหนังหรือโนรา


โครงสร้าง
ใช้ไม้ขนุน ไม้ชิงชัน หรือไม้เนื้อแข็งอื่นๆ รูปทรงกระบอกหรือรูปถังเบียร์ เส้นผ่าศูนย์กลางหน้าตัดทั้งสองประมาณ ๘ นิ้ว สูงประมาณ ๑๐ นิ้ว ขุดด้านหน้าตัดทั้งสองเข้าหากันเป็นรูปทรงกรวย (ดังภาพ) ตกแต่งให้ได้ที่แล้วปล่อยให้ไม้แห้งสนิท หนัง หุ้มกลองทั้ง ๒ ด้าน ใช้หนังวัวหรือหนังควายแช่น้ำเกลือให้อ่อนตัว ขูดพังผืดออกให้ หมดจนเหลือแต่ผิวส่วนที่แข็งและเหนียว แช่น้ำให้นิ่มแล้วนํามาขึงบนไม้หน้ากลองที่เตรียมไว้แล้ว ดึงหนังให้ตึง ตอกหมุดซึ่งทําด้วยโคนไม้ไผ่ห่างกันประมาณนิ้วครึ่งจนรอบ ตัดหนังส่วนที่ไม่ต้องการออก ใส่หูหิ้วและขาสําหรับค้ำให้ตัวกลองเอนตีสะดวกเป็นอันเสร็จ ให้หนังแห้งสนิทแล้วนําไปใช้ได้

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เครื่องดนตรีไทยพื้นบ้าน 4 ภาค



                เครื่องดนตรีไทยภาคอีสาน



พิณ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด มีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วน คือ กระโหลก คันพิณ ลูกบิดสาย และไม้ดีดกระโหลกและคันพิณ นิยมทำมาจากไม้ชิ้นเดียวกัน ส่วนใหญ่เป็นไม้ขนุนหรือไม้ประดู่ กระโหลกของพิณ มีหลายรูปทรง ทั้งรูปกลม รูปเหลี่ยมหรือรูปไข่ กล่องเสียงเป็นสี่เหลี่ยมมนหรือคล้ายใบไม้ สายพิณเดิมทำด้วยสายไหม แต่ปัจจุบันทำด้วยสายลวดมี 2-4 สาย ตอนปลาย ทำเป็นลวดลายหัวพญานาคใช้ดีดด้วยแผ่นบาง ๆ


สะล้อ เป็นเครื่องดนตรีประเภทสี สะล้อมีส่วนประกอบ 5 ส่วน คือ กระโหลก คันสะล้อ ลูกบิด สายละล้อและคันชักกระโหลกทำด้วยกะลามะพร้าวหน้ากระโหลกทำด้วยแผ่นไม้ค่อนข้างบาง กระโหลกสะล้อเจาะเป็นรูปสำหรับสอดใส่คันสะล้อคันสะล้อด้านบนเจารู 2-3 รู สำหรับสอดใส่ลูกบิด สายสะล้อนิยมใช้สายลวดปลายสายด้านล่างผูกยึดไว้กับปลายคันซอด้านล่างคันชักทำด้วยไม้ ขึงด้วยหางม้าเวลาสีมีทวนปักใช้ตั้งกับพื้น (คันชักแยกออกจากตัวสะล้อ)


ตะโลดโป้ด จัดเป็นเครืองดนตรีประเภทตี เป็นกลองสองหน้า รูปร่างทรงกระบอกยาว ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรือเนื้ออ่อนหน้ากลองขึงด้วยหนังโยง เร่งเสียงด้วยเชือกหนัง ถ่วงหน้าด้วยข้าวสุกบดผสมด้วยขี้เถ้า ตีด้วยไม้หุ้มนวม


ปี่จุม เป็นเครื่องดนตรีประเภท เป่าลิ้นเดียว มีส่วนประกอบแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ตัวปี่ และลิ้นปี่ ตัวปี่ทำด้วยไม้รวกชนิดหนึ่งด้านบนใกล้ปลายสุดเจาะรูสำหรับสอดใส่ลิ้น ใต้ลงมาเจาะรูสำหรับกดนิ้ว ลิ้นปี่ทำด้วยโลหะนำไปสอดใส่ไว้ในรูลิ้น เวลาเป่า ผู้เป่าจะอมด้านที่มีลิ้น ไว้ในกระพุ้งแก้มในแนวนอน การเป่าลมเข้าหรือออกจะได้โทนเสียงระดับเดียวกัน ปี่สามารถทำเสียงได้ทั้งเป่าและดูดทำให้เสียงดังติดต่อกันไม่ขาดระยะ ปี่ที่นิยมทำมี 4 ขนาด คือ ปี่ใหญ่ ปี่กลาง ปี่ก้อยและปี่ตัด



เครื่องดนตรีไทยพื้นบ้าน 4 ภาค




                 เครื่องดนตรีไทยภาคกลาง



ซออู้ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทสี กระโหลกซอจะทำด้วยกะลามะพร้าว มีสองสายระดับเสียงทุ้มมีรูปทรงโต ป้าน ตัดด้านหน้าของกะลาออกปิดด้วยหนังที่หนากว่าซอด้วง คันทวยทำด้วยไม้เนื้อแข็งตอนบนมีลูกบิดสำหรับขึงสาย สายซออู้ทำด้วยไหมฟั่นมีคันชักอยู่ระหว่างสายเช่นเดียวกับซอด้วง

ซอด้วง จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี มีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 4 ส่วน คือกระโหลก, คันซอ, สายซอและคันชักกระโหลกซอด้วง เป็นรูปทรงกระบอกทำด้วยไม้ประดู่ขึงหน้าด้วยหนังงู มีช่องเสียงอยู่ด้านตรงข้าม คันชักนิยมใช้หางม้า ซอด้วงมีสองสายทำด้วยไหมหรือไนล่อนแต่ปัจจุบันนิยมใช้สายไนล่อน ซอด้วงมีระดับเสียงแหลมเทียบเสียงเป็นคู่ห้าคือเสียง ซอลกับเร

ระนาดเอก เป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ลูกระนาดทำมาจากไม้ไผ่ หรือไม้เนื้อแข็งมประมาณ 21-22 ลูก ร้อยติดกันเป็นผืนมีขนาดลดหลั่นกัน แขวนไว้กับรางที่มีรูปร่างคล้ายเรือมีขาตั้งติดกับกล่องเสียงใช้ตีด้วยไม้คู่ ได้แก่ไม้แข็งหรือไม้นวมลูกระนาดปรับเสียงสูงต่ำด้วยตะกั่ว ซึ่งผสมขึ้ผึ้งติดไว้ข้างใต้ลูกระนาดในสุโขทัยเรียกว่า พาด

ฆ้องวงใหญ่ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี เกิดจากการเอาฆ้องหลาย ๆ ใบมาเรียงเข้าชุดบนรางทรงกลมลดหลั่นตามลำดับเสียงทำเป็นทำนองหลักในวงปี่พาทย์และวงมโหรี ลูกฆ้องทำจากโลหะผสมมีปุ่มสำหรับดีอยู่ตรงกลาง เรือนฆ้องทำจากหวายผูกเป็นร้านดัดให้โค้งเป็นวง ๆ หนึ่ง มี 16 ลูก คนตีนั่งอยู่ตรงกลาง ใช้ตะกั่วผสมขี้ผึ้งถ่วงเสียงใต้ลูกฆ้องให้ได้ เสียงตามต้องการโดยตีด้วยไม้หุ้มนวม 1 คู่ ฆ้องวงใหญ่มีเสียงทุ้มดำเนินทำนองหลักเชื่องช้าใช้บรรเลง

 

ดนตรีไทยพื้นบ้าน 4 ภาค



เครื่องดนตรีไทยภาคเหนือ

ซึง จัดเป็นดนตรีประเภทเครื่องดีดเป็นเครื่องดนตรีของล้านนาบรรเลง ด้วยการดีดซึงมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ส่วนคือ ตัวซึง สายซึง และไม้ดีด ตัวซึงทำด้วยไม้สัก หรือไม้เนื้อแข็ง ซึ่งแบ่งออกเป็นกะโหลกซึงและคันซึง ส่วนที่เป็นกระโหลกซึงตรงด้านล่างจะตอกหมุด สำหรับผูกสายกลางกระโหลกจะเป็นที่สำหรับพาดสายซึง ตัวกล่องเสียงที่ขุดเป็นโพรง มีช่องเสียงอยู่ด้านหน้ากำหนดระดับเสียงเป็นระยะ ๆ สายทำด้วยโลหะหรือไหมไม้ดีดทำด้วยเขาสัตว์

 สะล้อ เป็นเครื่องดนตรีประเภทสี สะล้อมีส่วนประกอบ 5 ส่วน คือ กระโหลก คันสะล้อ ลูกบิด สายละล้อและคันชักกระโหลกทำด้วยกะลามะพร้าวหน้ากระโหลกทำด้วยแผ่นไม้ค่อนข้างบาง กระโหลกสะล้อเจาะเป็นรูปสำหรับสอดใส่คันสะล้อคันสะล้อด้านบนเจารู 2-3 รู สำหรับสอดใส่ลูกบิด สายสะล้อนิยมใช้สายลวดปลายสายด้านล่างผูกยึดไว้กับปลายคันซอด้านล่างคันชักทำด้วยไม้ ขึงด้วยหางม้าเวลาสีมีทวนปักใช้ตั้งกับพื้น (คันชักแยกออกจากตัวสะล้อ)

ตะโลดโป้ด จัดเป็นเครืองดนตรีประเภทตี เป็นกลองสองหน้า รูปร่างทรงกระบอกยาว ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรือเนื้ออ่อนหน้ากลองขึงด้วยหนังโยง เร่งเสียงด้วยเชือกหนัง ถ่วงหน้าด้วยข้าวสุกบดผสมด้วยขี้เถ้า ตีด้วยไม้หุ้มนวม

ปี่จุม เป็นเครื่องดนตรีประเภท เป่าลิ้นเดียว มีส่วนประกอบแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ตัวปี่ และลิ้นปี่ ตัวปี่ทำด้วยไม้รวกชนิดหนึ่งด้านบนใกล้ปลายสุดเจาะรูสำหรับสอดใส่ลิ้น ใต้ลงมาเจาะรูสำหรับกดนิ้ว ลิ้นปี่ทำด้วยโลหะนำไปสอดใส่ไว้ในรูลิ้น เวลาเป่า ผู้เป่าจะอมด้านที่มีลิ้น ไว้ในกระพุ้งแก้มในแนวนอน การเป่าลมเข้าหรือออกจะได้โทนเสียงระดับเดียวกัน ปี่สามารถทำเสียงได้ทั้งเป่าและดูดทำให้เสียงดังติดต่อกันไม่ขาดระยะ ปี่ที่นิยมทำมี 4 ขนาด คือ ปี่ใหญ่ ปี่กลาง ปี่ก้อยและปี่ตัด

กลองปูเจ่หรืออุเจ่ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี มีลักษณะคล้ายกลองยาว แต่มีขนาดเล็กกว่า ตัวกลองทำด้วยไม้ขนุนไม้ชุมเห็ด ไม้ซื้อ ขึงด้วยหนังหน้าเดียว ท่องหางของกลองกลึงเป็นปล้อง ๆ มีสายสะพายสำหรับคล้องไหล่ เวลาตี มักตีด้วยมือ ประวัติกลองชนิดนี้ เป็นของชาวไทยมาช้านาน ได้แพร่เข้ามาในอาณาจักรล้านนาไทยแต่โบราน