จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เครื่องดนตรีไทยพื้นบ้าน 4 ภาค



                เครื่องดนตรีไทยภาคอีสาน



พิณ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด มีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วน คือ กระโหลก คันพิณ ลูกบิดสาย และไม้ดีดกระโหลกและคันพิณ นิยมทำมาจากไม้ชิ้นเดียวกัน ส่วนใหญ่เป็นไม้ขนุนหรือไม้ประดู่ กระโหลกของพิณ มีหลายรูปทรง ทั้งรูปกลม รูปเหลี่ยมหรือรูปไข่ กล่องเสียงเป็นสี่เหลี่ยมมนหรือคล้ายใบไม้ สายพิณเดิมทำด้วยสายไหม แต่ปัจจุบันทำด้วยสายลวดมี 2-4 สาย ตอนปลาย ทำเป็นลวดลายหัวพญานาคใช้ดีดด้วยแผ่นบาง ๆ


สะล้อ เป็นเครื่องดนตรีประเภทสี สะล้อมีส่วนประกอบ 5 ส่วน คือ กระโหลก คันสะล้อ ลูกบิด สายละล้อและคันชักกระโหลกทำด้วยกะลามะพร้าวหน้ากระโหลกทำด้วยแผ่นไม้ค่อนข้างบาง กระโหลกสะล้อเจาะเป็นรูปสำหรับสอดใส่คันสะล้อคันสะล้อด้านบนเจารู 2-3 รู สำหรับสอดใส่ลูกบิด สายสะล้อนิยมใช้สายลวดปลายสายด้านล่างผูกยึดไว้กับปลายคันซอด้านล่างคันชักทำด้วยไม้ ขึงด้วยหางม้าเวลาสีมีทวนปักใช้ตั้งกับพื้น (คันชักแยกออกจากตัวสะล้อ)


ตะโลดโป้ด จัดเป็นเครืองดนตรีประเภทตี เป็นกลองสองหน้า รูปร่างทรงกระบอกยาว ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรือเนื้ออ่อนหน้ากลองขึงด้วยหนังโยง เร่งเสียงด้วยเชือกหนัง ถ่วงหน้าด้วยข้าวสุกบดผสมด้วยขี้เถ้า ตีด้วยไม้หุ้มนวม


ปี่จุม เป็นเครื่องดนตรีประเภท เป่าลิ้นเดียว มีส่วนประกอบแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ตัวปี่ และลิ้นปี่ ตัวปี่ทำด้วยไม้รวกชนิดหนึ่งด้านบนใกล้ปลายสุดเจาะรูสำหรับสอดใส่ลิ้น ใต้ลงมาเจาะรูสำหรับกดนิ้ว ลิ้นปี่ทำด้วยโลหะนำไปสอดใส่ไว้ในรูลิ้น เวลาเป่า ผู้เป่าจะอมด้านที่มีลิ้น ไว้ในกระพุ้งแก้มในแนวนอน การเป่าลมเข้าหรือออกจะได้โทนเสียงระดับเดียวกัน ปี่สามารถทำเสียงได้ทั้งเป่าและดูดทำให้เสียงดังติดต่อกันไม่ขาดระยะ ปี่ที่นิยมทำมี 4 ขนาด คือ ปี่ใหญ่ ปี่กลาง ปี่ก้อยและปี่ตัด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น