จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เครื่องตนตรีไทยภาคใต้

เครื่องดนตรีภาคใต้
มีอยู่เพียง ๒ ตระกูล คือตระกูลเครื่องตีและตระกูล เครื่องเป่า ตระกูลเครื่องตีได้แก่ ทับ โหม่ง กรับคู่ กรับพวง ฆ้อง กลองทน กลองปืด กลองโพน กลองโนราหรือกลองหนัง ตระกูลเครื่องเป่าได้แก่ ปี่กาหลอ ปี่ไหน (ชื่อ เครื่องดนตรีเหล่านี้เรียกตามภาษาพื้นบ้าน)
ในการนําเครื่องดนตรีไปใช้นั้นชาวใต้ถือเคร่งครัด จะไม่นําเครื่องดนตรีไปใช้บรรเลงเดี่ยวเป็นอันขาด ไม่ว่ากรณีใดๆ แต่จะใช้เป็นคณะเพื่อประกอบการละเล่น หรือ ประกอบพิธีการเท่านั้น เช่น ประกอบการเล่นหนัง (หนังตะลุง ชาวใต้เรียกว่า “หนัง” ไม่มีคําว่า “ตะลุง”) โนรา มะโย่ง ฯลฯ หรือประกอบพิธีการ เช่น กาหลอ ใช้ในพิธีศพ หรือพิธีบวชนาคที่ผู้บวชจะบวชไม่สึก ปืด ใช้ในพิธีแห่พระตอนออกพรรษาหรือใช้ “คุม” (ประโคม) ในงานวัดเท่านั้น อายุของเครื่องดนตรีเหล่านี้สืบทราบจากผู้ใช้ว่า ใช้มาหลายสิบชั่วอายุคนแล้ว คือประมาณ ๖๐๐ ปีขึ้นไป การแสดงและการดนตรีของ ภาคใต้นับว่ามีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ลักษณะสังคมภาคใต้เป็นอันมาก โดยเฉพาะ หนัง โนรา และพิธีการทางศาสนา จัดเป็นเครื่องชี้นําแนวทางของสังคมที่มีอิทธิพลอย่างยิ่ง ต่อจากนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องดนตรีเป็นอย่างๆ ไป
๑. กลองหนัง หรือ กลองโนรา
กลองชนิดนี้ ถ้าใช้อยู่ในวงดนตรีไทยเรียกว่า “กลองตุ๊ก” หรือ “กลองชาตรี” ใช้ในการบรรเลง หรือประกอบการแสดงที่ดัดแปลงมาจากภาคใต้ เช่น รําซัดชาตรี เพลงตะลุง เป็นต้น ทางภาคใต้เรียกกลองชนิดนี้ว่า “กลองหนัง” หรือ “กลองโนรา” เพราะใช้เฉพาะกับการแสดงหนังหรือโนรา
เครื่องดนตรีภาคใต้มีอยู่เพียง ๒ ตระกูล คือตระกูลเครื่องตีและตระกูล เครื่องเป่า ตระกูลเครื่องตีได้แก่ ทับ โหม่ง กรับคู่ กรับพวง ฆ้อง กลองทน กลองปืด กลองโพน กลองโนราหรือกลองหนัง ตระกูลเครื่องเป่าได้แก่ ปี่กาหลอ ปี่ไหน (ชื่อ เครื่องดนตรีเหล่านี้เรียกตามภาษาพื้นบ้าน)
ในการนําเครื่องดนตรีไปใช้นั้นชาวใต้ถือเคร่งครัด จะไม่นําเครื่องดนตรีไปใช้บรรเลงเดี่ยวเป็นอันขาด ไม่ว่ากรณีใดๆ แต่จะใช้เป็นคณะเพื่อประกอบการละเล่น หรือ ประกอบพิธีการเท่านั้น เช่น ประกอบการเล่นหนัง (หนังตะลุง ชาวใต้เรียกว่า “หนัง” ไม่มีคําว่า “ตะลุง”) โนรา มะโย่ง ฯลฯ หรือประกอบพิธีการ เช่น กาหลอ ใช้ในพิธีศพ หรือพิธีบวชนาคที่ผู้บวชจะบวชไม่สึก ปืด ใช้ในพิธีแห่พระตอนออกพรรษาหรือใช้ “คุม” (ประโคม) ในงานวัดเท่านั้น อายุของเครื่องดนตรีเหล่านี้สืบทราบจากผู้ใช้ว่า ใช้มาหลายสิบชั่วอายุคนแล้ว คือประมาณ ๖๐๐ ปีขึ้นไป การแสดงและการดนตรีของ ภาคใต้นับว่ามีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ลักษณะสังคมภาคใต้เป็นอันมาก โดยเฉพาะ หนัง โนรา และพิธีการทางศาสนา จัดเป็นเครื่องชี้นําแนวทางของสังคมที่มีอิทธิพลอย่างยิ่ง ต่อจากนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องดนตรีเป็นอย่างๆ ไป
๑. กลองหนัง หรือ กลองโนรา
กลองชนิดนี้ ถ้าใช้อยู่ในวงดนตรีไทยเรียกว่า “กลองตุ๊ก” หรือ “กลองชาตรี” ใช้ในการบรรเลง หรือประกอบการแสดงที่ดัดแปลงมาจากภาคใต้ เช่น รําซัดชาตรี เพลงตะลุง เป็นต้น ทางภาคใต้เรียกกลองชนิดนี้ว่า “กลองหนัง” หรือ “กลองโนรา” เพราะใช้เฉพาะกับการแสดงหนังหรือโนรา


โครงสร้าง
ใช้ไม้ขนุน ไม้ชิงชัน หรือไม้เนื้อแข็งอื่นๆ รูปทรงกระบอกหรือรูปถังเบียร์ เส้นผ่าศูนย์กลางหน้าตัดทั้งสองประมาณ ๘ นิ้ว สูงประมาณ ๑๐ นิ้ว ขุดด้านหน้าตัดทั้งสองเข้าหากันเป็นรูปทรงกรวย (ดังภาพ) ตกแต่งให้ได้ที่แล้วปล่อยให้ไม้แห้งสนิท หนัง หุ้มกลองทั้ง ๒ ด้าน ใช้หนังวัวหรือหนังควายแช่น้ำเกลือให้อ่อนตัว ขูดพังผืดออกให้ หมดจนเหลือแต่ผิวส่วนที่แข็งและเหนียว แช่น้ำให้นิ่มแล้วนํามาขึงบนไม้หน้ากลองที่เตรียมไว้แล้ว ดึงหนังให้ตึง ตอกหมุดซึ่งทําด้วยโคนไม้ไผ่ห่างกันประมาณนิ้วครึ่งจนรอบ ตัดหนังส่วนที่ไม่ต้องการออก ใส่หูหิ้วและขาสําหรับค้ำให้ตัวกลองเอนตีสะดวกเป็นอันเสร็จ ให้หนังแห้งสนิทแล้วนําไปใช้ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น